facebook

แอล-คาร์นิทีน

L-CARNITINE

Agel™ HRT

มีส่วนผสมของสารต้านอนุมูลอิสระ 7 อย่าง
ที่มีผลการวิจัยทางการแพทย์
เน้นบำรุงและปกป้องหัวใจคุณโดยเฉพาะ หนึ่งในนั้นได้แก่

แอล-คาร์นิทีน คืออะไร

L-carnitine

แอลคาร์นิทีน เป็นชื่อของสารตัวหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายของเราเอง โดยสร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโน 2 ตัว คือ ไลซีน (lysine) และเมไทโอนีน (methionine) และ ถูกใช้ไปในหน้าที่ต่างๆ หลายอย่าง เช่น เข้าไปช่วยเพิ่มกระบวนการในการดึงไขมันไปใช้ โดยการขนส่งกรดไขมัน (fatty acid) เข้าไปในศูนย์กลางของการสร้างพลังงานของเซลล์ หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ แอล-คาร์นิทีนช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนกรดไขมันไปเป็นพลังงานนั่นเอง ซึ่งพลังงานที่ได้มาส่วนใหญ่ก็จะถูกใช้สำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย และเพราะกระบวนการพื้นฐานดังกล่าวของสารชนิดนี้ จึงทำให้สื่อโฆษณานำมาใช้เป็นประเด็นหลักในการสร้างโฆษณาเพื่อให้เห็นว่า “เมื่อกินแอล-คาร์นิทีน แล้วร่างกายเหมือนจะได้ทำงานดึงไขมันไปใช้ตลอดเวลา แม้แต่ในยามหลับ”

โดยปรกติ แอล-คาร์นิทีนนั้นจะถูกสร้างขึ้นภายในตับและไตของเราอยู่แล้ว และจะถูกนำไปเก็บไว้ในกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle) เช่น กล้ามเนื้อตามแขน ขา นอกจากนี้ยังถูกลำเลียงไปเก็บไว้ในหัวใจ สมอง และสเปิร์ม (ทำให้สเปิร์มเคลื่อนที่ได้อย่างเหมาะสม เพราะแอล-คาร์นิทีนจะไปเร่งให้ไมโทคอนเดรียเปลี่ยนไขมันมาเป็นพลังงานนั่นเอง) แหล่งของคาร์นิทีนที่มีมากพบในเนื้อแดงและผลิตภัณฑ์จากนม คาร์นิทีนจากแหล่งธรรมชาติอื่นๆ ประกอบด้วยถั่วและเมล็ดพืช (เช่น ฟักทอง ทานตะวัน งา) พืชตระกูลถั่วหรือเมล็ดถั่ว (ถั่วเหลือง, ถั่วเขียว, ถั่วแขก, ถั่วลิสง) ผัก (อาร์ติโชค, หน่อไม้ฝรั่ง, หัวผักกาดเขียว, บร็อคโคลี่, กะหล่ำดาว, ผักคอลลาร์ด, กระเทียม, ผักกาดเขียวปลี, กระเจี๊ยบมอญ, พาสลี่ย์, คะน้า) ผลไม้ (แอปปริคอท, กล้วย) ธัญพืช ( บัควีท(buckwheat), ข้าวโพด, ลูกเดือย, ข้าวโอ๊ต, รำข้าว, ข้าวไรย์, ข้าวสาลี, รำข้าวสาลี, จมูกข้าวสาลี) และอื่นๆที่เป็นอาหารสุขภาพ (ละอองเกสรดอกไม้, ยีสต์ที่ใช้หมักสุรา, carob)การดูดซึมคาร์นิทีนของร่างกาย การดูดซึมของแอล-คาร์นิทีนจะเกิดขึ้นในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ส่วนแพทย์สามารถให้คาร์นิทีนกับผู้ป่วยได้ทั้งทางเส้นเลือดและโดยการกิน

การขาดแอล-คาร์นิทีนสามารถเกิดได้

คนที่ทานมังสะวิรัติอาจจะเกิดภาวะการขาดแอล-คาร์นิทีนได้ในบางครั้ง เนื่องจากแอล-คาร์นิทีน พบได้ในเนื้อสัตว์ นม และถั่วหมัก หรือในผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมของระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงในกรณีที่มีผู้ป่วยที่ขาดแอล-คาร์นิทีน (ซึ่งพบน้อยมาก) ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดปกติของยีน หรือตับ หรือไต หรือกินอาหารที่มีกรดอะมิโนไลซีน และเมไทโอนีนน้อย ก็จะมีอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ เจ็บหน้าอก เจ็บกล้ามเนื้อ แขนขาล้าอ่อนแรง ความดันเลือดต่ำ และอาจจะมีอาการมึนงงสับสนร่วมด้วย เป็นต้น

ชนิดของคาร์นิทีนที่ถูกนำมาใช้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริม
คาร์นิทีนที่ใช้กันแพร่หลายมีอยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่

  • แอล-คาร์นิทีน (LC) เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีราคาถูกที่สุด
  • แอล-อะซิทิลคาร์นิทีน [L-acetylcarnitine (LAC)] เป็นเพียงรูปแบบเดียวที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคแอลไซเมอร์ (Alzheimer) และโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของสมองโรคอื่นๆ
  • แอล-โพรพิโอนิลคาร์นิทีน [L-propionylcarnitine (LPC)] ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาอาการเจ็บหน้าอกและโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ และใช้ได้ผลดีกับโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดตามแขนขาอีกด้วย (peripheral vascular disease – PVD)

สำหรับคนที่มีอาการแพ้ต่ออาหารโปรตีน เช่น ไข่ นม หรือข้าวสาลี ไม่ควรกินผลิตภัณฑ์ที่เสริมแอล-คาร์นิทีนเป็นอันขาด รวมไปถึงคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับและไต เด็กที่มีอายุยังไม่ถึง 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ถ้าไม่จำเป็น หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ครับ